- ประเมินราคาโรงงาน
ที่ดินและโรงงานถูกออกแบบมา โดยวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงตามรูปแบบของสินค้าและการผลิต ตามรูปร่างหน้าตาโครงสร้างของโรงงานแต่ละแห่งแม้กระทั่งในอุตสาหกรรมเดียวกันก็จะไม่มีรูปแบบที่คล้ายกันสักเท่าไรนัก การพิจารณาส่วนสำคัญของโรงงานที่มีผลต่อมูลค่า ได้แก่ การออกแบบการรับน้ำหนักจร โครงสร้างความสูงของหลังคา การวางเลย์เอาท์ เป็นไปอย่างเหมาะสม เครื่องจักรและสายการผลิต ฟังก์ชันของส่วนบริการในสายการผลิตซึ่งอาจจะเป็นอาคารที่แยกออกไปหรืออยู่ในส่วนของโรงงานหลัก การตรวจสอบฟังก์ชันสนับสนุนการผลิตเช่น น้ำดีน้ำเสีย การปล่อยมลพิษและการจัดการมลพิษ จึงต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงตำแหน่งที่ตั้งของฟังก์ชันส่วนการให้บริการมีความครบถ้วนในการประเมินราคาหรือไม่ มิใช่ว่าจะประเมินราคาเพียงที่ตั้งโรงงานหลักอย่างเดียว
การประเมินราคาโดยวิธีต้นทุน จึงเป็นวิธีที่ยอมรับกันทั่วไปในการสรุปราคา อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบราคาตลาดการซื้อขายโรงงานในประเภทอุตสาหกรรมเดียวกัน ควรจะทำการเปรียบเทียบข้อมูลตลาดเป็นการสอบทานราคา โดยมีแนวความคิดที่ว่าการผลิตในอุตสาหกรรมเดียวกันต้องการแหล่งวัตถุดิบแรงงาน ที่อยู่ในแหล่งเดียวกันหรือมีความคล้ายคลึงกัน เพื่อให้คุณภาพสินค้าและกำลังการผลิตที่ออกมาอยู่ในความต้องการและแข่งขันได้ ดังนั้นการแข่งขันในเรื่องของการควบคุมต้นทุนการผลิตต่อตันต่อหน่วย ที่มีความใกล้เคียงกัน ส่งผลให้การจัดหาที่ดินสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์ย่อมต้องอยู่ในภายใต้ภาวะการแข่งขัน ที่ดีจึงจะเป็นที่น่าสนใจของตลาด อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงโรงงานไปใช้ในรูปแบบการติดอย่างอื่นก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเช่นกัน
- เอกสารที่ต้องการสำหรับการประเมินราคาโรงงาน
- โฉนดที่ดินที่ตั้งโรงงาน
- ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร
- แบบแปลนผังบริเวณรอบรั้วโรงงานแสดงที่ตั้งอาคาร
- แบบแปลนพื้นอาคารทุกหลัง
- ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
- แผนผังกระบวนการผลิต
- แผนผังการจัดการของเสีย
- รายงานตรวจสอบอาคาร ร. 1 สำหรับโรงงานพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร
- รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ถ้ามีหรือเข้าข่าย)