ประเมินราคานวัตกรรมเทคโนโลยี
ความคิดในการพัฒนาปรับปรุง ระบบ งานใหม่ๆ ของคนรุ่นใหม่ ที่นิยมใช้เทคโนโลยีเข้ามา เป็นส่วนประกอบภายใต้ฐานองค์ความรู้ ประสพการณ์ที่มีอยู่เดิม ในการสร้างนวัตกรรม ทางเทคโนโลยี ในรูปแบบของดิจิตอล ในระดับ เป็น Application หรือ Platform ที่ทันสมัย เพื่อเกิดเป็น บริการใหม่ ผลิตภัณฑ์สินค้าตัวใหม่หรือกระบวนการทำงานแบบใหม่ เตรียมที่จะเปิดใช้เชิงธุรกิจในโอกาสต่อไป มีความเกี่ยวข้องกับการประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญา หรือ Intellectual Property or IP
การประเมินราคา ในชั้นของ กระบวนการแนวความคิด ซึ่งอยู่ในระหว่างการ คิดค้นพัฒนา จึงจำเป็นต้อง มีการเขียน Business Plan หรือแผนธุรกิจเข้ามารองรับก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการประเมินราคา โดยการ ศึกษาเปรียบเทียบ สถานะตลาด ณ ปัจจุบัน กับ สถานะที่ มีการเปลี่ยนแปลง ใช้นวัตกรรม ในเชิงธุรกิจ แล้ว โดยตัวแปรสำคัญ เช่นกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้าผู้ใช้บริการ คู่แข่งขันในตลาด ส่วนแบ่งตลาด เป็นต้น ในแต่ละปัจจัย จะมีความได้เปรียบ กว่าเดิม มากน้อยเพียงใด โดยส่วนใหญ่เมื่อมีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมใหม่เมื่อเปิดให้บริการก็ย่อมที่จะได้เปรียบ กว่าเดิมเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เมื่อแล้วเสร็จอาจจะเป็นในรูปของทรัพย์สินที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ปัจจัยเหล่านี้จะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเทียบเคียงระดับข้อมูลที่เป็นสากล ในการศึกษาถึงการคิดค้นที่มีก่อนหน้านี้ ความเป็นไปได้ของความต้องการความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว หรือเป็นความต้องการระยะสั้น ความสามารถในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากคนสู่คน ในแค่ละปัจจัยจะเป็นตัวแปรที่ออกมาเป็น Scoring เปรียบเทียบกันระหว่างธุรกิจเทียบเคียงที่อาจมีก่อนหน้านี้ เป็นวิธีหนึ่งซึ่งคล้ายกับการเปรียบเทียบข้อมูลตลาดในทางวิชาชีพประเมินราคา
แต่ในที่สุดการใช้วิธีประเมินราคาโดยวิธีรายได้ จากแนวความคิดของเจ้าของนวัตกรรมซึ่งเป็นผู้ตั้งต้นคิดค้นจากการโปรเจคชัน Discounted Cash Flow ออกไปก็สามารถที่จะหา มูลค่าเทคโนโลยีนวัตกรรมดังกล่าวได้ดีกว่า เพียงแต่ผู้ประเมินจะต้องทำการ Research รับรองตัวแปรปัจจัยที่เป็น Subjective ให้มีความเป็นกลางจากผู้ที่มีความต้องการใช้งานหลายๆคน ก็จะเป็นแนวทางสรุปมูลค่านวัตกรรมนั้นได้อย่างเป็นธรรม ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์สำหรับ กลุ่ม Start Up ที่ต้องการ เงินทุนในการ พัฒนานวัตกรรมไปสู่เชิงธุรกิจ ที่ต้องยอมลงทุนจัดทำแผนธุรกิจหรือ Business Plan ขึ้นมาก่อน ในการทำ Road Show กับผู้สนใจ ก็จะมีเอกสารเป็นแผนธุรกิจ และเล่มรายงานประเมินราคาของผู้ประเมิน ก็จะทำให้ผู้สนใจจะเข้ามาร่วมลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมก็จะมี ความมั่นใจที่จะใส่เมดเงินลงทุนมาได้ง่ายขึ้น
-
ประเมินราคาโปรแกรมซอฟท์แวร์
เหตุผลที่ต้องประเมินราคาซอฟท์แวร์โปรแกรม
- เหตุผลทางบัญชี เมื่อองค์กรได้มีการลงทุนพัฒนาโปรแกรมไปแล้วเป็นเงินจำนวนมาก ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่เมื่อประเมินโดยผู้ประเมินอิสระแล้วก็จะสามารถบันทึกเป็น Asset ได้ จะมีประโยชน์และได้ผลดีมากกว่า ในแง่ของผลดำเนินการ
- เป็นทรัพย์สินของกิจการ แสดงถึงฐานะของกิจการ เพื่อใช้ในการซื้อขายหรือเอาไว้เจรจาต่อรองในการ ควบรวมกิจการ โดยเฉพาะ ธุรกิจกลุ่ม Start up
โปรแกรม Software License ในองค์กรธุรกิจ อาจจะมองได้ เป็น 2 กลุ่มธุรกิจผู้ใช้งาน คือ กลุ่มธุรกิจ ผู้ใช้งาน เป็น End User กับกลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาโปรแกรม สำหรับ End User เราคงพิจารณาถึง
- ไลเซนส์ของโปรแกรมสำเร็จรูป ที่ได้ซื้อขาดมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท มีราคา License ในตลาด มีรุ่นที่สามารถเปรียบเทียบได้โดยจะพิจารณาถึงอายุการใช้งาน ที่เหลือและโอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลง Upgrade เวอร์ชั่นเป็นอย่างอื่น เพื่อกำหนดอายุใช้งาน
- โปรแกรมพัฒนาใช้งานเอง มีประวัติการพัฒนา การเริ่มใช้งานจนถึงปัจจุบัน พิจารณา จาก ต้นทุนการ พัฒนาโปรแกรม ในอดีต เทียบกับการพัฒนาในปัจจุบัน เป็นราคาต้นทุน แต่ในขณะที่ ปัจจุบันนี้มี App ที่เกิดขึ้นใหม่ อยู่หลากหลายชนิดซึ่งอาจจะมีความ ใกล้เคียงกันซึ่งเป็นข้อมูลที่นำมาทดแทนได้ ดังนั้นวิธีเปรียบเทียบตลาด จึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาร่วม
- โปรแกรมพัฒนาเพื่อการให้เช่าใช้หรือจำหน่ายในระดับ Application Platform การประเมินราคาซอฟท์แวร์จะพิจารณาถึง
ลำดับแรก คือ ต้นทุนค่าพัฒนาโปรแกรม ประวัติความเป็นมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ดูส่วนประกอบของโปรแกรม เป็นโมดูล ซึ่งสามารถคำนวณ ต้นทุน การพัฒนาโปรแกรม เป็นแมนเดย์
ลำดับต่อมา คือ ศักยภาพการสร้างรายได้ของโปรแกรม ซึ่งก็จะแบ่ง โปรแกรมออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ ประเภท ขายสิทธิ์ขาด จะมีค่า implement ค่า modify ค่าบริการบำรุงรักษา รายปี ในขณะที่โปรแกรมที่เป็นแพลทฟอร์มให้เช่าใช้ ก็จะต้องดู จำนวนของ User ที่อยู่บน platform นั้น ค่าสมาชิก เปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาด ด้วยกัน รายได้อื่นๆที่อาจมีเช่นค่าโฆษณา เป็นต้น
สำหรับ แพลทฟอร์มที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา หรือเป็นต้นแบบแนวความคิด ที่ยังไม่ได้ออกใช้งาน ก็สามารถประเมินได้แต่จะเป็นการประเมินราคาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมภายใต้สมมติฐานไป