ประเมินราคาโปรแกรมซอฟท์แวร์
เหตุผลที่ต้องประเมินราคาซอฟท์แวร์โปรแกรม
- เหตุผลทางบัญชี เมื่อองค์กรได้มีการลงทุนพัฒนาโปรแกรมไปแล้วเป็นเงินจำนวนมาก ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่เมื่อประเมินโดยผู้ประเมินอิสระแล้วก็จะสามารถบันทึกเป็น Asset ได้ จะมีประโยชน์และได้ผลดีมากกว่า ในแง่ของผลดำเนินการ
- เป็นทรัพย์สินของกิจการ แสดงถึงฐานะของกิจการ เพื่อใช้ในการซื้อขายหรือเอาไว้เจรจาต่อรองในการ ควบรวมกิจการ โดยเฉพาะ ธุรกิจกลุ่ม Start up
โปรแกรม Software License ในองค์กรธุรกิจ อาจจะมองได้ เป็น 2 กลุ่มธุรกิจผู้ใช้งาน คือ กลุ่มธุรกิจ ผู้ใช้งาน เป็น End User กับกลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาโปรแกรม สำหรับ End User เราคงพิจารณาถึง
- ไลเซนส์ของโปรแกรมสำเร็จรูป ที่ได้ซื้อขาดมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท มีราคา License ในตลาด มีรุ่นที่สามารถเปรียบเทียบได้โดยจะพิจารณาถึงอายุการใช้งาน ที่เหลือและโอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลง Upgrade เวอร์ชั่นเป็นอย่างอื่น เพื่อกำหนดอายุใช้งาน
- โปรแกรมพัฒนาใช้งานเอง มีประวัติการพัฒนา การเริ่มใช้งานจนถึงปัจจุบัน พิจารณา จาก ต้นทุนการ พัฒนาโปรแกรม ในอดีต เทียบกับการพัฒนาในปัจจุบัน เป็นราคาต้นทุน แต่ในขณะที่ ปัจจุบันนี้มี App ที่เกิดขึ้นใหม่ อยู่หลากหลายชนิดซึ่งอาจจะมีความ ใกล้เคียงกันซึ่งเป็นข้อมูลที่นำมาทดแทนได้ ดังนั้นวิธีเปรียบเทียบตลาด จึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาร่วม
- โปรแกรมพัฒนาเพื่อการให้เช่าใช้หรือจำหน่ายในระดับ Application Platform การประเมินราคาซอฟท์แวร์จะพิจารณาถึง
ลำดับแรก คือ ต้นทุนค่าพัฒนาโปรแกรม ประวัติความเป็นมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ดูส่วนประกอบของโปรแกรม เป็นโมดูล ซึ่งสามารถคำนวณ ต้นทุน การพัฒนาโปรแกรม เป็นแมนเดย์
ลำดับต่อมา คือ ศักยภาพการสร้างรายได้ของโปรแกรม ซึ่งก็จะแบ่ง โปรแกรมออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ ประเภท ขายสิทธิ์ขาด จะมีค่า implement ค่า modify ค่าบริการบำรุงรักษา รายปี ในขณะที่โปรแกรมที่เป็นแพลทฟอร์มให้เช่าใช้ ก็จะต้องดู จำนวนของ User ที่อยู่บน platform นั้น ค่าสมาชิก เปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาด ด้วยกัน รายได้อื่นๆที่อาจมีเช่นค่าโฆษณา เป็นต้น
สำหรับ แพลทฟอร์มที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา หรือเป็นต้นแบบแนวความคิด ที่ยังไม่ได้ออกใช้งาน ก็สามารถประเมินได้แต่จะเป็นการประเมินราคาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมภายใต้สมมติฐานไป