ซีรีส์การลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย โดย InvestMan

ซีรีส์การลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย โดย InvestMan

EP1 – คุณสมบัติเบื้องต้นของคนต่างชาติผู้มีสิทธิที่ได้รับการพิจารณาให้มีถิ่นที่อยู่ฯ เพื่อการลงทุน

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นกับประเทศไทย หลายธุรกิจจำต้องปิดตัวลง อุตสาหกรรมต่างๆได้รับผลกระทบทางลบ รัฐบาลจำต้องทำการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการต้อนรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ InvestMan จึงนำผู้อ่านมาเข้าประเด็น นโยบายการดึงดูดชาวต่างชาติเข้าสู่ประเทศ รัฐบาลได้ทำการคลายกฎระเบียบการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทยด้วยหวังว่า จะเป็นการดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติ

สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติ ท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลงทุน เมื่อถือครองหลักทรัพย์ถูกต้องตามสัญชาติและสัดส่วนที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทย โดยทั่วไปชาวต่างชาติสามารถถือครองหลักทรัพย์จดทะเบียน ได้ไม่เกินสัดส่วน 49% รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ เช่น ห้องชุด หรือ ที่อยู่อาศัยแนวราบ ยกเว้นหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่มธนาคาร และสถาบันการเงินซึ่งกำหนดสัดส่วน สำหรับชาวต่างชาติไว้ไม่เกิน 25%เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาวต่างชาติที่มีความต้องการลงทุนถือครองอสังหาในอัตราพิเศษ สามารถทำได้ด้วยการยื่นขอถิ่นที่อยู่เสมือนเป็นคนไทยทั่วไปต่างจากคนต่างด้าว 

ตามข้อมูลที่อ้างอิงจากภาครัฐ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำหรับกลุ่มผู้ที่มีคุณสมบัติเบื้องต้น ได้แก่

  • ถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน
  • ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) และได้รับอนุญาตให้อยู่ไทยเป็นปีแล้ว โดยมีรอบเวลาพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่ยื่นคำขอ
  • กรณีที่ผู้ขอยื่นมีอายุ 40 ปี ขึ้นไป เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบประวัติเบื้องก่อน
    • ตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดหรือไม่ ด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือและกรอกประวัติ ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
    • ตรวจสอบหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรที่นำมาแสดง
    • ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือไม่
    • ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากลหรือไม่ ที่กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ สินทรัพย์ ความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างชาติกับบุคคลที่มีสัญชาติไทย
  • พูดและฟัง ภาษาไทยได้อย่างเข้าใจ

เมื่อเราเอากฎหมายการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในบ้านเรามาเทียบกับเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีรายละเอียดคร่าวตามนี้

อสังหาริมทรัพย์ที่ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติภายใต้พระราชบัญญัติที่พักอาศัย (Residential Property Act) ได้แก่

  • คอนโดมิเนียม
  • ห้องชุด
  • บ้านที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
  • สิทธิการเช่าที่อยู่อาศัยซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี รวมทั้งที่อาจจะได้รับการต่ออายุ
  • อาคารพาณิชย์ (ใช้เพื่อการพาณิชย์)
  • อาคารและที่ดินโรงงาน
  • โรงแรมที่ได้ลงทะเบียนภายใต้ The provision of the Hotel Act

จะเห็นได้ชัดเจนว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สิงคโปร์ ยังมีความอะลุ่มอล่วย เปิดรับการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศมากกว่าพอสมควร 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยเตรียมมาตรการเปิดให้ต่างชาติซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทยได้มากขึ้น ช่วงสั้นๆ 3-5 ปี ให้ชาวต่างชาติที่ซื้อคอนโดได้ในสัดส่วน 70-80% จากเดิม 49% แต่ให้สิทธิในนิติบุคคล 49% เท่าเดิม รวมทั้งการซื้อ-เช่าที่อยู่อาศัยแนวราบ ราคา 10-15 ล้านบาทขึ้นไป และต้องไม่เกิน 49% เช่นกัน โดยคาดว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายดังกล่าว อย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งปีหลัง

ใน EP ต่อไปของซีรีส์การลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย InvestMan จะมาให้ความรู้ ขั้นตอนการขอจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ที่พักอาศัยสำหรับชาวต่างชาติ และเอกสารสิทธฺ์ในการซื้อโอนอสังหาริมทรัพย์

ขอบคุณแหล่งข่าว : สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง , Proparis แหล่งซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บริษัทประเมินอิสระ Independent Valuation Company Thailand

ให้บริการด้านประเมินมูลค่าทรัพย์สิน อยู่ในบัญชีรายชื่อของตลาดหลักทรัพย์และทุกสถาบันธนาคาร มุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานผลงานและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง มุ่งหวังยกระดับมาตรฐานการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ในประเทศไทยเทียบเท่าระดับสากล ตามปรัชญาขององค์กรที่ปลูกฝังไปยังผู้ประเมินราคาในสังกัดทุกคน

บทความอื่นๆ

Follow Us

Prospec Appraisal

Top
Subscribe To Our Newsletter

Subscribe To Our Newsletter

Join our mailing list to receive the latest news and updates from our team.

You have Successfully Subscribed!