เพื่อประกอบการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2558) เมื่อกิจการมีโอกาสเข้าซื้อหรือมีการควบรวมกิจการ ในหลายเหตุการณ์ราคาซื้อขายโดยรวมจะมีมูลค่าที่สูงกว่าทรัพย์สินที่บันทึกบัญชี ซึ่งแน่นอนว่าผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล ได้มองถึงมูลค่าของกิจการที่มีมากกว่ามูลค่าตาม Book value ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย ในอดีตที่ผ่านมาส่วนเกินราคาซื้อขายจะบันทึกไว้เป็นค่าความนิยม หรือ Goodwill ที่ต้องมีการตัดออกจากบัญชีตามมาตรฐานบัญชีที่กำหนดไว้ แต่ปัจจุบันมาตรฐานบัญชีกำหนดให้ต้องมีบันทึกบัญชีโดยการปันส่วนราคาซื้อ (Price purchase allocation, ppa.) ทันทีที่มีการซื้อกิจการ จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีที่ต้องหาวิธีการสกัดหาทรัพย์สินไม่มีตัวตนต่างๆ เพื่อนำไปบันทึกบัญชีให้ลงตัวใกล้เคียงกับราคาซื้อมากที่สุด ในที่สุดเมื่อยังคงเหลือส่วนต่างอยู่อีกโดยที่หาทรัพย์สินที่จะปันส่วนเข้าไปไม่ได้จึงจะบันทึกเป็นค่าความนิยม หรือ Goodwill นั่นเอง
โดยปรกติทรัพย์สินในกิจการ ที่ควรนำมาปรับปรุงให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน (Adjusted Book Value)
แบ่งได้ 2 ส่วนคือ
- ส่วนแรก ทรัพย์สินมีตัวตน(Tangible Assets)
- อสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เป็นสถานประกอบการ และที่เป็นทรัพย์เพื่อการลงทุน
- เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิตและส่วนสนับสนุน
- วัตถุดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิต
- สินค้าในกระบวนการผลิต
- สินค้าคงคลังและสินค้าระหว่างการส่งมอบปลายทาง
- บัญชีลูกหนี้และเงินสด
ส่วนที่สอง ทรัพย์สินไม่มีตัวตน(Intangible Assets) มีอีกหลายประเภท เช่น
- Brand name หรือ Trademark หรือเครื่องหมายการค้า
- ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทานบัตร
- สิทธิเรียกร้อง
- สิทธิการเช่า
- สัญญาตัวแทน
- สูตรการผลิต
- เทคโนโลยีโนวฮาว
- ความชำนาญการหรือ Skill Labor
- ไลเซนส์ซอฟท์แวร์
- ฐานข้อมูลลูกค้า
- ค่านิยม หรือ Goodwill
**บริษัทโปรสเปคฯ เป็นผู้ชำนาญในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินไม่มีตัวตน เพื่อกิจการนำไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการปันส่วนราคาซื้อ สำหรับผู้สอบบัญชีใช้ในการบันทึกบัญชี ลูกค้าผู้ใช้บริการโปรดตรวจสอบข้อเสนองานระหว่างการทำรายงานประเมินมูลค่าทรัพย์สินกับการทำรายงาน PPA แยกออกจากกันให้ชัดเจนก่อนใช้บริการ**