- ประเมินราคาบุคคลากรหรือความเชี่ยวชาญพิเศษ
ประเมินราคาบุคคลากรหรือความเชี่ยวชาญพิเศษ หรืออาจจะเป็นความชำนาญพิเศษของแรงงานหรือ Skill labour หรืออาจจะเป็นความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็น know How ที่อาจจะยึดติดกับบุคคล ที่มีผลต่อการผลิต หรือการให้บริการ ความเชี่ยวชาญพิเศษจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะมีผลต่อการซื้อขายกิจการซึ่งอาจจะเป็น ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนส่วนหนึ่งของกิจการก็ว่าได้ ถ้าหากกิจการสามารถพิสูจน์ได้ว่า ถ้าหากกิจการสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีมูลค่าทรัพย์สินประเภทนี้อยู่ในกิจการ ก็สามารถที่จะประเมินราคาออกมาได้ ยกตัวอย่างเช่น การมี สัญญาจ้างที่ผูกพันกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ ในช่วงของการส่งมอบ ธุรกิจจากเจ้าของเก่าไปสู่เจ้าของใหม่ ได้อย่างมี หลักฐานเป็น นัยยะสำคัญ การประเมินราคา ความสามารถพิเศษ ก็สามารถที่จะนำเสนอได้อย่างเป็นรูปประธรรมได้
วิธีการประเมินราคาในแง่ต้นทุน (Cost Approach) คือการพิจารณาค่าเสียโอกาสในการจัดหาบุคคลากรเข้ามาทดแทนทีมงานเป้าหมายสมมติว่าถ้าจะไม่จ้างต่อแล้วต้องหาทีมใหม่เข้ามาทดแทนจะเป็นต้นทุนเท่าไรในการจ้างระดับคุณสมบัติที่เท่าเทียมกัน ในขณะที่จ้างมาแล้วยังมีค่าเสียโอกาสที่จะต้องมีช่วงของการเรียนรู้งาน (Learning Curve) ไต่ระดับของการฝึกฝนความเชี่ยวชาญจนเข้าที่ ในช่วงดังกล่าวจะมีต้นทุนของการใส่เม็ดเงินเข้าไปในอบรมฝึกสอนอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วจึงเป็นมูลค่าผู้เชี่ยวชาญจากฝั่งต้นทุน
วิธีการประเมินราคาในแง่ของรายได้ (Income Approach) คือ การพิจารณาความสามารถในการสร้างยอดขายจนถึงการทำกำไรให้กับองค์กร ในรูปแบบของทีมหรือส่วนบุคคลจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ซึ่งมีความแตกต่างกันในระดับความสามารถอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นทีมงานส่วนหน้าบริการลูกค้า หรือทีมงานสนับสนุนผู้ให้บริการอยู่เบื้องหลัง ซึ่งจะมีการแบ่งสัดส่วนรายได้และกำไรตามพฤติกรรมองค์กร เข้าสูการโปรเจคชั่นในตารางกระแสเงินสดตามจำนวนปีของระยะเวลาผูกพันที่อาจมีการหนดตามเงื่อนไขการส่งมอบโดบส่วนใหญ่ธุรกิจมักจะมีข้อผูกพันกันไว้ให้ทีมบริหารเดิมอยู่ไปต่อเนื่องอีก 3-5 ปีเป็นต้น แล้วจึงใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสม คำนวณย้อนกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน จึงเป็นมูลค่าความเชี่ยวชาญจากฝั่งของรายได้