กลับมาอีกครั้งสำหรับหัวข้อข่าวที่น่าสนใจ ที่ InvestMaN จะมานำเสนอเล่าสู่กันฟังกับผู้อ่าน หัวข้อในครั้งนี้ได้แก่ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดร ที่ได้มีความคืบหน้ามาระยะหนึ่งหลังจากได้ประกาศถึงโครงการอย่างเป็นทางการ
ไม่นานนี้แหล่งข่าว กรุงเทพธุรกิจ ได้รายงานถึงรายละเอียดและสถานะปัจจุบันของโครงการนี้ เมื่อพูดถึงประวัติความเป็นมาของนิคมอุตสาหกรรมใหม่นี้ที่กำลังเกิดขึ้นนี้
รายละเอียดโดยสังเขป
- นิคมฯ อุดรธานี ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลโนนสูง ตำบลหนองไผ่ และตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
- พื้นที่ขนาด 2,170.63 ไร่
- มูลค่าการลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 เฟส:
-เฟส 1 มีพื้นที่ 1,300 ไร่ โดยที่จะพัฒนาเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานซะส่วนใหญ่
-เฟส 2 ยังคงรอการคืบหน้าการพัฒนาของเฟสแรก อย่างไรก็ตามทั้ง 2 เฟส เน้นอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบอยู่ในภาคอีสาน เช่น ยางพารา ที่จะผลิตเป็นสินค้าขั้นปลาย อย่างถุงมือยางพารา เป็นต้น - ปัจจุบัน เฟส 1 ได้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จ 75% และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย. 2564
- นอกเหนือจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่ 600 ไร่ เพื่อการพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์โดยเฉพาะอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของการพัฒนา
- นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีมีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ คือ มีทำเลที่ตั้งอยู่ในโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงทั้งในและนอกประเทศ มีเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับจีนตอนใต้ อยู่ในเส้นทางรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ที่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับจีนตอนใต้ไปยังท่าเรือแหลมฉบังและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รองรับการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางรางและโลจิสติกส์ในภูมิภาค และยังเป็นศูนย์การขนส่งสินค้าไปยังประเทศในกลุ่ม CLMV และจีนตอนใต้
- ด้วยระยะทางเพียง 60 กม. จากนิคมสู่รถไฟ สามารถล่นระยะเวลาการขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนตอนใต้เหลือเพียง 1 วัน และลดค่าขนส่งได้มากกว่า 5 เท่าตัว จากเดิมที่ต้องขนส่งทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบัง โดยใช้เวลาร่วม 15-17 วัน
- พัฒนาศักยภาพการผลิตและ เชิงอุตสาหกรรมของพื้นที่ภาคอีสานอย่างเต็มกำลัง
- นอกเหนือจากการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ เช่น จีน และ ญี่ปุ่น นิคมนี้ยังสนับสนุนธุรกิจ SME ที่มีต้นทุนต่ำอีกด้วย
ภาคอีสาน ถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา ขณะเดียวกันภาคอีสานยังจัดได้ว่ามีเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จึงทำให้มีประชากรมากตามมาด้วยเช่นกัน คนส่วนมากมักจะมีมุมมองว่า ภาคอีสานเป็นพื้นที่แห้งแล้ง การเข้าไปถึงก็ทำได้ยาก ดังนั้น นิคมอุดรนี้ บวกกับเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ-หนองคาย ที่กำลังจะเปิดใช้ในเร็วๆนี้ มีศักยภาพที่จะผลักดัน และสนับสนุน การเจริญเติบในภาพรวมของภูมิภาคแน่นอน
ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นของที่ดินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เชิงอุตสาหกรรม ต่างๆนานา โดยเฉพาะโลจิสติกส์ ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ https://bit.ly/2Wvh1ZK สามารถส่งผลให้ราคาที่ดินปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ผู้ที่ถือครองที่ดิน หรือมีความประสงค์ที่จะซื้อขายที่ดินเพื่อประกอบการควรศึกษาถึงมูลค่าปัจจุบันเสียก่อน โปรสเปคยินดีให้บริการและปรึกษาด้านการประเมินราคาที่ดิน หรือแม้แต่ การประเมินราคาธุรกิจสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ เพื่อนำไปใช้ในการธุรกรรม รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Feasibility Study และ Site Selection
ขอบคุณแหล่งข่าว : กรุงเทพธุรกิจ