ก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึงบทความ “ธุรกิจโรงเเรมเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมากที่สุด” วันนี้ Investman จะพาผู้อ่านมารับรู้ถึงการปรับตัวของธุรกิจโรงเเรม พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์มากน้อยเเค่ไหน จากเเหล่งข่าวประชาชาติธุรกิจ
พอจะทราบกันดีอยู่เเล้วว่า ในช่วงสถานการณ์โควิดประเทศไทยยังไม่สามารถรับรองนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ อีกทั้งการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเองก็ยังถือว่าน้อยมาก อัตราการเข้าพักยังคงตกอย่างต่อเนื่อง คงจะกลับมาดีขึ้นอีกครั้งหลังจากได้รับวัคซีน
จากสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบที่ 3 ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงพยาบาล (รพ.) หลายแห่ง เริ่มมีเตียงไม่เพียงพอในการรองรับผู้ติดเชื้อ
ทำให้ รพ.ภาครัฐเเละเอกชน จำเป็นจะต้อง เช่าโรงเเรมทั้งตึก เปิดเป็น Hospitel แตกต่างจากตอนเเรกที่รับเฉพาะกลุ่มที่มีอาการน้อย
ธุรกิจโรงเเรมปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
จากการสำรวจของ Investman พบว่าธุรกิจโรงเเรมมีกลยุทธิ์การในการปรับตัวเเตกต่างกันออกไป
บางเเห่งเปิดเป็นเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์แบบเช่าระยะยาว หรือให้เช่าทำเป็นฮอสพิเทล รพ.เอกชนหลายเเห่งจับมือกับโรงเเรมที่เป็นพันธมิตร
เมื่อโรงพยาบาล รวมตัวกับ โรงเเรม เป็นฮอสพิเทล
หรือเรียกได้ว่า หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ สถานที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเเก่ผู้ป่วย เเละต้องอยู่ภายใต้การกับกับดูเเลของโรงพยาบาลเเม่ข่าย ไม่สามารถจัดขึ้นเองโดยการไม่ได้รับการอนุญาต
มุมมองของการนักประเมินราคา
การที่ธุรกิจการโรงแรมได้รับผลกระทบชั่วคราวยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เเน่นอน นัยยะของราคาทรัพย์สินก็ยังไม่ลดลง เเต่ในช่วงสถานการณ์วิกฤตแบบนี้ เมื่อโรงเเรมสามารถปรับเปลี่ยนหรือปรับตัวได้ ก็จะส่งผลดี ซึ่งในมุมมองของนักประเมินมอง ออกเป็น 3 ข้อใหญ่
- อัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) เเน่นอนว่าในช่วงสถานการณ์โควิด นักท่องเที่ยวหายไป ส่วนใหญ่อัตราการเข้าพักลดลงไปกว่าครึ่ง ยิ่งจังหวัดที่รับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นหลักอัตราการเข้าพักแถบเป็นศูนย์
- โครงสร้างรายรับ รายหลักของโรงเเรมส่วนใหญ่จะเป็นอัตราการเข้าพักของนักท่องเที่ยว รองลงมาจะเป็นส่วนของร้านอาหาร เครื่องดื่ม ช็อปแฟรนไชส์ เเละรายได้อื่นๆ รายได้หลักๆของโรงเเรมลดน้อยลง
- โครงสร้างรายจ่าย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเเละการบริหาร ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ค่าซ่อมบำรุงรักษา ยังคงอยู่ปกติ
จาก 3 ข้อหลักที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า โรงเเรมมีอัตราการเข้าพักลดลง โครงสร้างรายรับลดลง ส่วนโครงสร้างรายจ่ายยังคงปกติ เห็นได้ว่าเกิดการปรับตัวของโรงเเรมเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงินของกิจการ จะมีการรันระบบอยู่อย่างต่อเนื่อง ทรัพย์สินภายในกิจการมีการใช้งาน ลดการทรุดโทรม เพิ่มระบบการจัดการด้านความสะอาดอย่างยอดเยี่ยม สร้างความมั่นใจให้กับผู้มาเข้าใช้บริการ ซึ่งทั้งนี้รูปแบบการประเมินราคาโรงเเรม มีการเปลี่ยนไปบ้างในด้านข้อมูลตัวเลข แต่ในระดับวิธีการและเครื่องมือยังคงเป็นรูปแบบเดิม ตัวแปรสำคัญคือการพัฒนารูปแบบมาตรฐานโรงแรมจะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบการให้บริการเฉพาะทางหรือไม่ เช่น การให้บริการหอพักผู้พักฟื้นแบบถาวรในระดับลักชัวรี่ซึ่งต่างประเทศมีแล้ว ประเทศไทยก็น่าจะเริ่มขยับตัว หลังโควิดคงจะได้เห็นกัน ซึ่งอนาคตคาดว่าอาจจะเป็นเทรนด์ใหม่ก็อาจเป็นไปได้ เมื่อมีมาตรฐานใหม่มาจับการประเมินมูลค่าก็จะปรับตัวตามไปด้วย
โปรสเปคยินดีให้คำปรึกษาประเมินราคาธุรกิจกิจการโรงเเรม โรงพยาบาล นอกจากนี้เรายังมีบริการประเมินราคามูลค่าทรัพย์สินอื่นๆ ตามที่ท่านนักลงทุนสนใจ
ขอบคุณเเหล่งข่าว: ประชาชาติธุรกิจ