หลังจากหายไปนาน InvestMaN มีข่าวน่าสนใจจะมาเล่าสู่กันฟังให้กับผู้อ่าน ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยถึง 2 โปรเจคท์การพัฒนารถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ด้วยขนาดของการพัฒนาที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้คนเป็นจำนวนมากในหลากหลายพื้นที่ๆ รถไฟจะวิ่งผ่านเมื่อสร้างแล้วเสร็จ InvestMaN จึงมองเห็นว่าข่าวนี้เป็นประเด็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ซึ่งวันนี้เราจะขอพูดถึงโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของก่อน
ประวัติความเป็นมา
ทางรถไฟสายชุมทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นหนึ่งในโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็น 1 ใน 2 ส่วนต่อขยายของทางรถไฟสายเหนือ เดิมมีกำหนดการสร้างในปี พ.ศ. 2560 แต่เลื่อนออกไปในปี พ.ศ. 2564 หลังจากที่มีการอนุมัติอย่างเป็นทางการ กระทรวงคมนาคมเร่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มเวนคืนที่ดินและเปิดการประมูลภายในปี 2564 โดยตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการภายในปี 2571
รายละเอียดของโครงการ
ลักษณะประเภทรถไฟทางคู่สาย
เส้นทางโดยรวมเป็นคันทางระดับดินและทางรถไฟยกระดับ
เชื่อมต่อระหว่างเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ระยะทางโดยรวม 323 กิโลเมตร
วงเงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 72,920 ล้านบาท
การก่อสร้างแบ่งเป็น 3 สัญญา :
– สัญญาที่ 1 – เด่นชัย – งาว ระยะทาง 103 กิโลเมตร ราคากลาง 26,599 ล้านบาท
– สัญญาที่ 2 – งาว – เชียงราย ระยะทาง 132 กิโลเมตร ราคากลาง 26,913 ล้านบาท
– สัญญาที่ 3 – เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 87 กิโลเมตร ราคากลาง 19,406 ล้านบาท
– *แต่ละสัญญามีระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 72 เดือน (6 ปี) หลังได้มีการส่งมอบที่ดินที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้าง
ณ ตอนนี้อยู่ระหว่างการประกวดราคา e-bidding หรือขั้นตอนการเสนอราคาสำหรับแต่ละสัญญา การประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เพื่อเริ่มดำเนินการโปรเจคท์
ผลกระทบ
วัตถุประสงค์หลักเพื่อรองรับโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าภาคเหนือ รวมถึงรองรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของที่กำลังก่อสร้างจะเชื่อมการค้าระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ – ใต้จากประเทศไทย ไปยังลาว พม่า เวียดนาม และ จีนตอนใต้
ช่วยผลักดันการค้าระหว่างชายแดน และเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย ที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดได้เร็วขึ้น
รองรับการเดินทาง สำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศ และต่างชาติ สนับสนุนการท่องเที่ยวในภูมิภาคตอนเหนือ
ผลกระทบทางอ้อมยังรวมถึงราคาที่ดินรอบหรือบริเวณใกล้เคียงของสถานีรถไฟต่างๆที่จะเกิดขึ้น ย้อมมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นไม่มากก็น้อยเมื่อเกิดการพัฒนาในพื้นที่
โครงการนี้ถือว่าเป็นข่าวดีมากสำหรับคนภาคเหนือ ที่นานๆทีจะมีโครงการระดับนี้เกิดขึ้นในบริเวณ ก็หวังว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจอย่างที่ได้วางแผนไว้ สอดรับกับเส้นทางสายยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจการขนส่งลำเลียงสินค้า ที่มาจากจีนผ่านช่องทางลาวมาเชื่อมกับประเทศไทย บริเวณอำเภอเชียงของ ที่เป็นสะพานมิตรภาพไทยลาวเเห่งที่ 4 เรียกว่าเส้นทางสาย R3A คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจของภาคเหนือบนและล่างจะได้รับอานิสงฆ์ทางบวกจากโครงการนี้ นับเป็นโอกาสของนักลงทุนที่จะเริ่มมองหาอสังหาเพื่อจับจองและลงทุนในระยะเวลา 5-7 ปี หลังจากนี้ ลงตัวกับช่วงระยะเวลาก่อสร้างโครงการพอดี อันดับแรกก็ไปสำรวจดูจุดของความเป็นไปได้บริเวณที่ตั้งของสถานีกันให้ดีเสียก่อน จึงค่อยตัดสินใจลงทุนนะครับ
แน่นอนว่าโครงการสาธารณระดับเมกาโปรเจคนี้ย่อมต้องผ่านการศึกษาวิเคราห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการก่อนเริ่มก่อสร้าง (Feasibility study / Due diligence) การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับโครงสร้าง (Site selection) และจะส่งผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไร โปรสเปคในฐานะบริษัทประเมินราคา ยินดีให้บริการและปรึกษาด้านการประเมินราคาที่ดิน หรือแม้แต่ การประเมินราคาธุรกิจสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ เพื่อนำไปใช้ในการธุรกรรม รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเหล่านี้
ขอบคุณแหล่งข่าว : ฐานเศรษฐกิจ
ขอบคุณรูปภาพประกอบ : วิกิพีเดีย