แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรม

แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรม ภาพรวมของการเติบโต ปัจจัยและโอกาสสะท้อนความน่าสนใจของอุตสาหกรรม

Our MENTIONS

ราคาที่ดินปี 68 ปรับเพิ่มอีก 5-10% ตัวแปรเมืองขยายตัวเร็ว เปิด 4 ทำเลเหมาะพัฒนาที่อยู่อาศัย

ต้นทุนหลักของการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย คือ ‘ราคาที่ดิน’ ซึ่งจะเป็นต่อรูปแบบการพัฒนาโครงการ เช่น ถ้าเป็นที่ดินในเมือง แน่นอน จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูง หรือเป็นโปรเจกต์รูปแบบผสมผสาน (มิกซ์ยูส) เพื่อให้คุ้มค่าต่อเงินลงทุนและผลตอบแทนที่จะได้จากโครงการในระยะยาว ขณะที่การขยับออกไปนอกเมือง หรือการจัดหาที่ดินขอบชานเมืองนั้น จะสร้างโอกาสที่จะหาที่ดินแปลงใหญ่ หรือมีเนื้อที่มากในการทำโครงการรูปแบบแนวราบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือบ้านแฝด ในราคาขายต่อหน่วยที่บางโครงการจะมีมูลค่าที่รับกำลังซื้อ แต่บางโครงการอัปแวลูของโครงการขึ้นมาก เช่น บ้านแพง ราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาท ไปจนถึง 500 ล้านบาท ก็เห็นได้ ซึ่งในทางกลับกันแล้วเหมือนการเร่งให้ราคาที่ดินโดยรอบแพงขึ้นตามเช่นกัน และเราจะเห็นได้ว่า หลายฝ่ายหรือแม้แต่ตัวดีเวลลอปเปอร์มองว่า การบังคับใช้ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะทำให้ราคาที่ดินปรับลดลง แต่ในความเป็นจริง มีบางทำเล หรือความจำเป็นของเจ้าของที่ดินในการประกาศขาย แต่โดยรวมแล้ว ราคาไม่ได้ลดลงอย่างที่คาดไว้ หรือแม้แต่ช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด สถานการณ์ของราคาที่ดินไม

อ่านเพิ่มเติม »

พื้นที่ EEC ดันราคาที่ดินพุ่งเฉลี่ย 100% ต่อปี

นายปริสุทธิ์ รอดจากภัย ผู้อำนวยการฝ่ายสำรวจวิจัย บริษัท โปรสเปค แอพเพรซัล จำกัด ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการประเมินราคาทรัพย์สินและที่ดินที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ เผยข้อมูลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลการขายพื้นที่ในทำเลนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ครอบคลุม จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง เมื่อเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ราคาขายพื้นที่ ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ราคาขาย 4.9 ล้าน บาท/ไร่ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง ชลบุรี ราคาขาย 4.8 ล้าน บาท/ไร่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ราคาขาย 12 – 14 ล้าน บาท/ไร่ และนิคมอุตสาหกรรมเอเพ็กซ์ กรีน อินดัสเตรียลเอสเตท ฉะเชิงเทรา ที่เปิดตัวใหม่ล่าสุด ราคาขาย 4.5 ล้าน บาท/ไร่ เปรียบเทียบกับข้อมูลราคาขายพื้นที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 พบว่า ราคาขายพื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 100 % ต่อปี ยกเว้นพื้นที่ระยองราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่อัตราการเพิ่มขึ้นต่ำกว่าพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ราคาท

อ่านเพิ่มเติม »
Top