แนะนำการใช้เล่มรายงานประเมินอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์

เป็นประเด็นสงสัยของผู้ใช้รายงานประเมินกันมาก ซึ่งควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องเพื่อผู้ใช้เล่มได้ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตรงตามความรับผิดชอบของผู้ประเมินตามมาตรฐานทางวิชาชีพ

เล่มรายงานประเมินจะถูกนำไปใช้ใน 2 วัตถุประสงค์หลัก นั่นคือ เพื่อทราบส่วนตัวของผู้ว่าจ้าง ซึ่งความหมายอยู่ในตัวเองแล้ว ก็คือจำกัดการใช้เฉพาะตัว ยังไม่ได้นำไปทำธุรกรรมกับใคร ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งก็จะระบุการนำไปใช้ตรงตามประเภทธุรกรรมนั้นเลย พร้อมระบุชื่อของคู่ธุรกรรม ไว้ด้วย ซึ่งผู้ประเมินก็จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในเล่มรายงานต่อผู้ว่าจ้างและบุคคลที่สามที่ระบุในรายงาน ตามของเขตทางวิชาชีพประเมิน  จึงเห็นได้ว่า เมื่อขอบเขตความรับผิดชอบเพื่อทราบส่วนตัวจำกัดน้อยกว่า โดยทั่วไปผู้ประเมินก็จะคิดค่าบริการต่ำกว่าการนำไปใช้เพื่อทำธุรกรรมบุคคลที่สาม อ้างอิงตามแอพพลิเคชั่น Valstreet ถนนสายประเมินราคา ลองทดสอบสอบถามค่าบริการดูได้

ดังนั้นการใช้รายงานประเมินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระหว่างลูกค้าผู้ว่าจ้าง กับ บุคคลหรือหน่วยงานที่จะเป็นคู่ธุรกรรมด้วยกัน ก็คือ การนำเล่มรายงานใช้เพื่อทราบส่วนตัวไปเจรจากับคู่ธุรกรรม เพื่อให้ถึงจุดที่น่าพอใจก่อนในหลายหลายที่ แล้วจึงกลับมาขอออกเล่มใหม่โดยเปลี่ยนวัตถุประสงค์แบบเจาะจงการใช้ในขั้นตอนตกลงว่าจะทำธุรกรรมกันแล้ว ซึ่งทางผู้จะใช้เล่มรายงานหรือคู่ธุรกรรมก็ควรศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจตรงกัน เพราะการรับเล่มรายงานโดยไม่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ อาจไม่สามารถใช้บังคับผู้ประเมินได้ในภายหลัง

ตัวอย่าง ลูกค้ารายหนึ่งมีหลักประกันเป็นที่ดินอาคาร ต้องการยื่นกู้กับ Non Bank จึงมาขอออกเล่มรายงานประเมินในตอนแรก เพื่อทราบส่วนตัว นำไปใช้ขอสินเชื่อกับ Non Bank 5 ที่ จนกระทั่งได้เงื่อนไขที่ดีที่สุด 1 ที่จึงกลับมาขอเล่มระบุวัตถุประสงค์เจาะจง ตามตัวอย่างสมมติ “วัตถุประสงค์ : เพื่อทราบมูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สิน นำไปใช้เพื่อยื่นขอสินเชื่อกับ บริษัทวายออโต้จำกัด ”  เท่ากับว่า ลูกค้าจะได้ประโยชน์หลักๆ 2 อย่าง คือ

  • ข้อแรกจ่ายค่าบริการคุ้มค่า คือ ไม่ต้องจ่ายค่าประเมินถึง 5 ครั้ง แต่จ่ายเพียง 2 ครั้ง คือ ค่าบริการประเมินครั้งแรกตามวัตถุประสงค์เพื่อทราบส่วนตัว จะได้ค่าบริการที่มีส่วนลดจากวัตถุประสงค์เพื่อทำธุรกรรมอยู่แล้ว ครั้งที่สองมาขอออกเล่มเปลี่ยนวัตถุประสงค์เจาะจง ก็จะเสียค่าบริการในการออกเล่มใหม่และการขยายขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ประเมิน 

**เงื่อนไขการออกเล่มใหม่ขึ้นกับระยะเวลาโดยปรกติไม่เกิน 6 เดือน ลูกค้ารับรองสภาพทรัพย์สินไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการสำรวจครั้งที่แล้ว และขึ้นอยู่กับคู่ธุรกรรมจะยอมรับ หรือไม่ ถ้าไม่ก็จะเข้าข่ายไปสำรวจใหม่**

  • ข้อสองรักษาอำนาจการต่อรอง  ข้อนี้ก็สำคัญเมื่อมีเล่มรายงานของผู้ประเมินอิสระอยู่ในมือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปภายใต้มาตรฐานทางวิชาชีพอย่างเป็นกลาง ก็พร้อมที่จะเจรจากับคู่ธุรกรรมได้เลย การที่ไปมือเปล่าก็อาจจะต้องยอมให้คู่ธุรกรรมเป็นผู้จัดการตีราคาทรัพย์ให้ มีขั้นตอนล่าช้า และความไม่เป็นกลาง จึงไม่เป็นประโยชน์กับลูกค้าเท่าไรนัก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

บริษัทประเมินอิสระ Independent Valuation Company Thailand

ให้บริการด้านประเมินมูลค่าทรัพย์สิน อยู่ในบัญชีรายชื่อของตลาดหลักทรัพย์และทุกสถาบันธนาคาร มุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานผลงานและพัฒนาวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง มุ่งหวังยกระดับมาตรฐานการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ในประเทศไทยเทียบเท่าระดับสากล ตามปรัชญาขององค์กรที่ปลูกฝังไปยังผู้ประเมินราคาในสังกัดทุกคน

บทความอื่นๆ

Follow Us

Prospec Appraisal

Top
Subscribe To Our Newsletter

Subscribe To Our Newsletter

Join our mailing list to receive the latest news and updates from our team.

You have Successfully Subscribed!