แหล่งข่าว จากกรุงเทพธุรกิจ รายงานว่าล่าสุด มีข่าวที่น่าสนใจที่กำลังถูกจับตามอง รายการโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา ที่ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้ออกมาแถลงข่าว อยู่ในช่วงศึกษา EIA วันนี้ InvestMaN เลยจะมาเล่าให้ผู้อ่านได้ทราบถึงรายละเอียดของโครงการนี้
ประวัติความเป็นมา
ตลอดแนวทะเลสาบสงขลามีสะพานเชื่อมระหว่างจังหวัดอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ สะพานชะแล้ และสะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งค่อนข้างเก่าแก่ และ ไม่ค่อยสะดวกต่อการเดินทางข้ามทะเลสาบ เนื่องจากระยะทางที่ไกล สะพานทั้ง 2 แห่งมีระยะทางห่างกันประมาณ 50 กิโลเมตร ทำให้ประชาชนที่อาศัยพื้นที่ตรงกลางของทะเลสาบต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง ผู้คนท้องถิ่นและฝ่ายปกครองจึงได้เรียกร้องให้สร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา
รายละเอียดของโครงการ
เชื่อมต่อระหว่าง ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระเเสสินธุ์ จังหวัดสงขลา – ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ยังไม่ทราบถึงระยะทางโดยรวม
วงเงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 3 พันล้านบาท
ณ ตอนนี้อย่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยคาดว่าจะเสร็จภายใน เดือน เม.ย. 2564
รูปแบบการก่อสร้างคาดว่าเป็นลักษณะสะพานขึง
ขอบคุณแผนที่จาก Google Map
ผลกระทบ
สะพานใหม่นี้จะสามารถลดระยะการเดินทางได้มากกว่า 80 กิโลเมตร ลดระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 2 ชั่วโมง
ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลาทั้ง ฝั่งพัทลุงและสงขลา
สร้างงาน เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
โครงการนี้ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (Infrastructure) จะช่วยในการคมนาคมสัญจรไปมาระหว่าง 2 จังหวัดที่ ช่วงหลัง มีปริมาณยานพาหนะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นข่าวดีมากสำหรับชาวสงขลาและพัทลุง ที่นานๆทีจะมีโครงการละดับนี้เกิดขึ้นในบริเวณ ก็หวังว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวของ 2 จังหวัดที่ถือว่ามีแหล่งท่องเที่ยว และ ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติไม่น้อยเลยทีเดียว
แน่นอนว่าโครงการสาธารณระดับเมกาโปรเจคนี้ย่อมต้องผ่านการศึกษาวิเคราห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการก่อนเริ่มก่อสร้าง (Feasibility study) การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับโครงสร้าง และจะส่งผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างไร โปรสเปคยินดีให้บริการและปรึกษาด้านการประเมินราคาที่ดิน หรือแม้แต่ การประเมินราคาธุรกิจสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ เพื่อนำไปใช้ในการธุรกรรม รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Feasibility Study และ Site Selection
ขอขอบคุณแหล่งข่าว : กรุงเทพธุรกิจ