EP1 – คุณสมบัติเบื้องต้นของคนต่างชาติผู้มีสิทธิที่ได้รับการพิจารณาให้มีถิ่นที่อยู่ฯ เพื่อการลงทุน
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นกับประเทศไทย หลายธุรกิจจำต้องปิดตัวลง อุตสาหกรรมต่างๆได้รับผลกระทบทางลบ รัฐบาลจำต้องทำการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการต้อนรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ InvestMan จึงนำผู้อ่านมาเข้าประเด็น นโยบายการดึงดูดชาวต่างชาติเข้าสู่ประเทศ รัฐบาลได้ทำการคลายกฎระเบียบการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทยด้วยหวังว่า จะเป็นการดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติ
สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติ ท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลงทุน เมื่อถือครองหลักทรัพย์ถูกต้องตามสัญชาติและสัดส่วนที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทย โดยทั่วไปชาวต่างชาติสามารถถือครองหลักทรัพย์จดทะเบียน ได้ไม่เกินสัดส่วน 49% รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ เช่น ห้องชุด หรือ ที่อยู่อาศัยแนวราบ ยกเว้นหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่มธนาคาร และสถาบันการเงินซึ่งกำหนดสัดส่วน สำหรับชาวต่างชาติไว้ไม่เกิน 25%เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาวต่างชาติที่มีความต้องการลงทุนถือครองอสังหาในอัตราพิเศษ สามารถทำได้ด้วยการยื่นขอถิ่นที่อยู่เสมือนเป็นคนไทยทั่วไปต่างจากคนต่างด้าว
ตามข้อมูลที่อ้างอิงจากภาครัฐ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำหรับกลุ่มผู้ที่มีคุณสมบัติเบื้องต้น ได้แก่
- ถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน
- ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) และได้รับอนุญาตให้อยู่ไทยเป็นปีแล้ว โดยมีรอบเวลาพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่ยื่นคำขอ
- กรณีที่ผู้ขอยื่นมีอายุ 40 ปี ขึ้นไป เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบประวัติเบื้องก่อน
- ตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดหรือไม่ ด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือและกรอกประวัติ ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
- ตรวจสอบหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรที่นำมาแสดง
- ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือไม่
- ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากลหรือไม่ ที่กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ สินทรัพย์ ความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างชาติกับบุคคลที่มีสัญชาติไทย
- พูดและฟัง ภาษาไทยได้อย่างเข้าใจ
เมื่อเราเอากฎหมายการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในบ้านเรามาเทียบกับเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีรายละเอียดคร่าวตามนี้
อสังหาริมทรัพย์ที่ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติภายใต้พระราชบัญญัติที่พักอาศัย (Residential Property Act) ได้แก่
- คอนโดมิเนียม
- ห้องชุด
- บ้านที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
- สิทธิการเช่าที่อยู่อาศัยซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี รวมทั้งที่อาจจะได้รับการต่ออายุ
- อาคารพาณิชย์ (ใช้เพื่อการพาณิชย์)
- อาคารและที่ดินโรงงาน
- โรงแรมที่ได้ลงทะเบียนภายใต้ The provision of the Hotel Act
จะเห็นได้ชัดเจนว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สิงคโปร์ ยังมีความอะลุ่มอล่วย เปิดรับการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศมากกว่าพอสมควร
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยเตรียมมาตรการเปิดให้ต่างชาติซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทยได้มากขึ้น ช่วงสั้นๆ 3-5 ปี ให้ชาวต่างชาติที่ซื้อคอนโดได้ในสัดส่วน 70-80% จากเดิม 49% แต่ให้สิทธิในนิติบุคคล 49% เท่าเดิม รวมทั้งการซื้อ-เช่าที่อยู่อาศัยแนวราบ ราคา 10-15 ล้านบาทขึ้นไป และต้องไม่เกิน 49% เช่นกัน โดยคาดว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายดังกล่าว อย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งปีหลัง
ใน EP ต่อไปของซีรีส์การลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย InvestMan จะมาให้ความรู้ ขั้นตอนการขอจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ที่พักอาศัยสำหรับชาวต่างชาติ และเอกสารสิทธฺ์ในการซื้อโอนอสังหาริมทรัพย์
ขอบคุณแหล่งข่าว : สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง , Proparis แหล่งซื้อขายอสังหาริมทรัพย์